ประวัติและความเป็นมาของ Blockchain
สวัสดีครับ เนื้อหาในบทความนี้เราจะพูดถึงเกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของ Blockchain โดยเราจะเล่าย้อนไปในยุคที่โลกกำลังให้ความสนใจในเรื่องวิทยาการเข้ารหัส ซึ่งเป็นรากฐานหลักของความปลอดภัย ทำให้โลกได้ตระหนักถึงสิทธิ์ส่วนบุคคล การป้องกันการสอดแนม และการที่กลุ่มชุมชน cypherpunk / crypto-anarchy ที่พยายามผลักดันให้วิทยาการดังกล่าวสู่สาธารณะชน
สงวนลิขสิทธิ์ เนื้อหาทั้งหมด รูปภาพ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาต
Cryptocurrency มีความผันผวนที่สูง โปรดทำความเข้าใจ และเนื้อหาใดๆที่เกี่ยวข้อง บทความ หรือเอกสารใดๆจากเรา ไม่เกี่ยวข้องใดๆกับการลงทุนหรือการชี้ชวนการลงทุนใดๆ Non-Financial Advise (NFA) และ Do your own research (DYOR)
รากฐานของความปลอดภัย เริ่มจาก Cryptography
นับตั้งแต่โลกนั้นได้เริ่มมีวิทยาการการเข้ารหัสข้อมูลโดยริเริ่มขึ้นจากยุคของสงครามนั้น ก่อกำเนิดความตระหนักถึงการรับส่งข้อมูลที่ผ่านตัวกลาง เช่น วิทยุ รหัสมอส รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้หลายๆฝ่ายตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการรับส่งข้อมูล โดยเทคโนโลยีนี้ก่อกำเนิดขึ้นและใช้ในทางทหาร ก่อนจะเริ่มแพร่หลายและนำไปใช้กับธุรกิจที่สำคัญ จนกระทั่งสู่ยุคที่ผู้คนทั่วไปสามารถใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความปลอดภัย
ประวัติและความเป็นมาของ Blockchain
นักวิทยาศาสตร์ในสาขาคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันนามว่า David Chaum ในช่วงปี ค.ศ. 1979 ได้เสนอหลักแนวคิดเกี่ยวกับโปรโตคอลที่มีลักษณะคล้ายกับ Blockchain โดยในตอนนั้นเป็นแนวความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายการสื่อสารที่ไม่เปิดเผยตัวตน ในวิทยานิพนธ์ของเขา “Computer Systems Established, Maintained, and Trusted by Mutually Suspicious Groups.” ซึ่งเป็นหลักแนวคิดเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้น ดูแลรักษา และได้รับความไว้วางใจโดยกลุ่มที่น่าสงสัยร่วมกัน ซึ่งวิทยานิพนธ์ดังกล่าวถูกนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์และความเป็นมาของ Blockchain
และในปี ค.ศ. 1982 คุณ David Chaum ก็ได้เผยแพร่ความคิดเกี่ยวกับ “Blind Signatures For Untraceable Payments” ซึ่งกล่าวไว้ในเอกสารดังนี้ (ทางผมได้นำเฉพาะบางส่วนที่สำคัญจากเอกสารดังกล่าว อย่างไรก็ตามโปรดอ่านเอกสารฉบับสมบูรณ์)
A fundamentally new kind of cryptography is proposed here, which allows an automated payments system with the following properites:
1. Inability of third parties to determine payee, time or amount of payments mad by an individual.
2. Ability of individuals to provide proof of payment, or to determine the identity of the payee under exceptional circumstances.
3. Ability to stop use of payments media reported stolen.“BLIND SIGNATURE CRYPTOSYSTEMS — The new kind of cryptography will be introduced first in terms of an analogy and then by description of its parts, their use, and the resulting security properties. No actual example cryptosystem is presented”
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1989 คุณ David Chaum ก็ได้ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อ DigiCash และใช้เครื่องหมายการค้าว่า “ecash’ แต่อย่างไรก็ตาม DigiCash นั้นอยู่ในสถานะล้มละลายในปี ค.ศ. 1998 ซึ่ง ecash เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นบริษัทเกี่ยวกับเงินอิเล็กทรอนิกส์ นับว่านี่อาจเป็นรากฐานสำคัญของหลักความคิดที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการเงิน และเป็นการก้าวเข้าสู่การหาหนทางให้การทำธุรกรรมทางการเงินบนระบบคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัย [ความคิดเห็นส่วนตัวของผม]
ในช่วงปี ค.ศ. 1991 Stuart Haber และ W. Scott Stornetta ทั้งสองคนเป็นชาวอเมริกันซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์และนักวิจัยในสาขาคอมพิวเตอร์ โดยตีพิมพ์เอกสารที่ชื่อว่า “How to Time-Stamp a Digital Document” เป็นเอกสารตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง Time-stamp และ Hash เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการที่จะสามารถระบุไฟล์เอกสาร ภาพ วีดีโอ ไฟล์เสียง และอื่นๆ เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่นับตั้งแต่การสร้างขึ้น เพราะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ง่าย ซึ่งได้รับรางวัล Discover Award สาขาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ในปี ค.ศ. 1992 และถือว่าเป็นหนึ่งในเอกสารที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัล
และหลังจากนั้นไม่นานในปี ค.ศ. 1992 คุณ Stuart Haber, W. Scott Storneta และ Dave Bayer ทั้งสามคนได้รวมกลุ่มกันและได้รวมหลัก Merkle Tree เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ จากเอกสาร “Improving the Efficiency and Reliability of Digital Time-Stamping”
ซึ่ง Merkle Tree หรือ Hash Tree เป็นรากฐานสำคัญในหลายๆเทคโนโลยี เช่น IPFS , ระบบ File system ต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีของระบบ database อย่างเช่น NoSQL
โดย Hash tree สามารถใช้ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ต่างชนิดกัน การควบคุมหรือการส่งผ่านของระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกันหรือคนละอุปกรณ์หรือผู้ส่งที่ต่างกัน ผ่านเครือข่ายการเชื่อมต่อแบบ Peer to peer network โดยสามารถรับส่งข้อมูลโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล และในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่ยอมรับข้อมูลที่มีการปลอมแปลงจากผู้ส่งได้ นั่นหมายความว่าไม่ว่าจะมีการส่งข้อมูลจากผู้ส่งหลายๆคน ส่งผ่านกันไปมา จะต้องมีขีดความสามารถที่จะสามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลทั้งหมดจะต้องมีความถูกต้องในการส่งต่อๆกัน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือหากมีผู้ส่งคนใดคนหนึ่งปลอมแปลงข้อมูลจะต้องสามารถจะรับรู้การปลอมแปลงและปฏิเสธข้อมูลนั้นๆได้ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของการรับส่งข้อมูล ความถูกต้อง ความไม่เปลี่ยนแปลงของข้อมูล และสามารถยืนยันความถูกต้องได้
ยุค Before the mailing list
ย้อนไปในช่วงปี ค.ศ. 1970 วิทยาการการเข้ารหัสข้อมูลนั้นยังไม่ถูกใช้แพร่หลาย ในขณะนั้นถูกใช้สำหรับรัฐบาล หน่วยงานสำคัญทางการทหาร เจ้าหน้าที่สายลับ และงานด้านความมั่นคงของประเทศเป็นหลัก ซึ่งในยุคนี้เรายังเรียกว่า “Before the mailing list” จนถึงช่วงของปี ค.ศ. 1980 ที่นักวิทยาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ได้เริ่มตีพิมพ์บทความ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ สู่สาธารณะ
ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1976 มีงานตีพิมพ์สู่สาธารณะชน ซึ่งทำให้เกิดการตระหนักถึงการเข้ารหัสแบบ Public-key cryptography หรือรู้จักกันในปัจจุบันว่า asymmetric cryptography โดย Whitfield Diffie , Martin Hellman ภายใต้ผลงานตีพิมพ์ “New Directions in Cryptography”
และปีถัดมา ค.ศ. 1977 US Goverment หรือรัฐบาลสหรัฐ ได้เผยแพร่มาตรฐาน Data Encryption Standard (DES) ซึ่งดีไซน์โดย IBM ในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1970 และถูกปรับปรุง ผ่านการปรึกษาหารือกับทาง National Security Agency (NSA) ได้เลือกเวอร์ชั่นที่มีการปรับปรุงสำหรับเผยแพร่สู่สาธารณะ
จุดสำคัญและการรวมกลุ่มกันของ Cypherpunk / Crypto-anarchy
หลักจากยุค Before the mailing list กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาการการเข้ารหัส นักวิจัยหลากหลายสาขา ทั้ง คณิตศาสตร์, คอมพิวเตอร์ รวมทั้งวิทยาการการเข้ารหัส ได้รวมกลุ่มกันขึ้น
จุดเริ่มต้นในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1992 Eric Hughes , Timothy C. May และ John Gilmore ได้รวมตัวกันและสร้างกลุ่มเล็กๆขึ้น โดยจะนัดเจอกันในทุกๆเดือนที่บริษัทของ Gilmore ที่ชื่อ Cygnus Solution ในแถบย่านอ่าวซานฟรานซิสโก [ปัจจุบัน Cygnus ถูกควบรวมกิจการเข้าไปอยู่ในบริษัท Red Hat]
โดยคำว่า “Cypherpunks” นั้น ถูกเรียกโดย Jude Milhon ซึ่งนิยามการประชุมกันครั้งแรกของการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลดังกล่าว ซึ่งเธอเป็นนักเคลื่อนไหวและนักเขียน และ hacker อีกทั้งเธอยังได้มีส่วนร่วมในการทำงานที่ BSD ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มงานวิจัยของมหาวิทยาลัย UC Berkeley แต่ปรากฎว่าก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นด้วยกับคำว่า “Cypherpunks” และเสนอให้ใช้คำว่า “Crypto-anarchy” แทน
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1994 ชุมชน Cypherpunk มีผู้สมัครรับอีเมล์มากถึง 700 คน และกลายเป็นชุมชนฟอรัมที่พูดคุยกัน ซึ่งจากเดิมที่พูดคุยเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี วิทยาการการเข้ารหัส คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ก็มีการพูดถึงเรื่องการเมือง มีการถกเถียงกัน การอภิปรายโดยอาศัยองค์ความรู้ หรือแม้กระทั้งการขัดแย้งและโจมตีเรื่องประเด็นส่วนตัว รวมทั้งอีเมล์ในลักษณะสแปมเช่นกัน (หากสนใจอ่านข้อความย้อนหลังสามารถอ่านได้ที่นี่)
การรวมกลุ่มกันของนักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักเคลื่อนไหว และบุคคลในสายงานอื่นๆ ก่อให้เกิดสังคมขนาดเล็กที่พูดคุยกันได้อย่างเสรี ปราศจากการควบคุม การถกเถียงในประเด็นทางวิชาการต่างๆ ในความเห็นส่วนตัวของผม คิดว่านี่เป็นสิ่งที่เกิดอิสระทางด้านความคิด และหากเป็นการถกเถียงทางด้านวิชาการ ก็ก่อให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ
แต่อย่างไรก็ตามการปราศจากการควบคุมก็ทำให้เกิดการถกเถียงในลักษณะโจมตีเรื่องส่วนตัว และก็ตกเป็นเป้าของอีเมล์ที่เป็นลักษณะสแปม หรือการตกเป็นเป้าการโจมตีในลักษณะ mailing bomber
การเริ่มต้นขึ้นของ Proof of work (PoW)
PoW ได้ถือกำเนิดขึ้นจากแนวความคิดโดย Moni Naor และ Cynthia Dwork ในปี ค.ศ. 1993 จุดประสงค์เพื่อป้องกันการโจมตีในลักษณะ DOS (Denial of service attack) และการรบกวนการทำงานด้วยวิธีการ spam บนระบบเครือข่าย ซึ่งในตอนแรกมุ่งเน้นไปที่หัวข้อแนวคิดการสู้กับ Junk Mail โดยทั้งสองคนได้ตีพิมพ์เอกสารในหัวข้อ “Pricing via Processing or Combatting Junk Mail”
และในปี ค.ศ. 1999 ก็มีการนิยามคำว่า “Proof of work” ครั้งแรกขึ้น โดย Markus Jakobsson และ Ari Juels ซึ่งทั้งสองคนได้ตีพิมพ์เอกสารในหัวข้อ “Proofs of Work and Bread Pudding Protocols”
Hashcash ยุคที่ PoW เริ่มมีการนำมาใช้
ในปี ค.ศ. 1997 Hashcash ได้ถูกเสนอขึ้นโดย Adam Back ผ่านทางชุมชน Cypherpunk [อ่านต้นฉบับที่ประกาศได้ที่นี่] ซึ่งเป็นแนวคิดเริ่มต้นและนำวิธีการหรือหลักแนวคิดเกี่ยวกับ PoW มาปรับใช้
ในปี ค.ศ. 2002 เอกสารอย่างเป็นทางการก็ถูกตีพิมพ์ขึ้นโดย Adam Back ในหัวข้อ “Hashcash — A Denial of Service Counter-Measure”
Hashcash เป็น algorithm ชนิดนึงที่ทำงานโดยใช้หลักคิดด้านวิทยาการเข้ารหัสแบบแฮชด้วยกลไกแบบ PoW ซึ่งเป็นกลไกที่อาศัยศักยภาพการประมวลของ CPU ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงต้นทุนที่จะใช้ในกลไก PoW แต่อย่างไรก็ตามขีดจำกัดและปัญหาที่ว่าระบบคอมพิวเตอร์สามารถเร็วขึ้นได้ตามกฎของ Moore’s ในทุกๆปีคอมพิวเตอร์จะมีความเร็วเพิ่มขึ้น ซึ่งในภายหลังเทคโนโลยีการเข้ารหัสก็มีการพัฒนา มีการออกมาตรฐานใหม่ๆเกี่ยวกับการเข้ารหัสที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและทำให้การถอดรหัสนั้นไม่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันสั้น
อย่างไรก็ตาม Hashcash นั้นไม่ได้จดสิทธิบัตร และเป็นซอฟท์แวร์ฟรี ซึ่งสามารถนำไปใช้งานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
b-money การจุดประกายให้เกิดความสนใจเรื่อง cryptocurrencies
ในปี ค.ศ. 1998 วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนชื่อ Wei Dai และเป็นสมาชิก cypherpunk ได้เผยแพร่เอกสารในหัวข้อ “b-money, an anonymous, distributed electronic cash system” ซึ่งเผยแพร่ถึงหลักคิดเกี่ยวกับโครงการของกลุ่มบุคคลที่ใช้นามแฝงที่ไม่สามารถติดตามได้ เพื่อจ่ายเงินให้กันและกัน และสามารถกระทำการบังคับใช้ระหว่างกันเองได้โดยปราศจากการช่วยเหลือจากภายนอก
Bit gold สิ่งที่ไม่เคยมีการใช้ แต่กลับถูกมองว่าเป็นปูชนียบุคคลโดยตรงของสถาปัตยกรรม Bitcoin
วันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2005 Nick Szabo ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับ Bit gold บน blog ของเขา ผ่าน http://unenumerated.blogspot.com/2005/12/bit-gold.html [มีการเก็บเข้าสู่ระบบ waybackmachine ครั้งแรกวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2006 คลิ๊กที่นี่เพื่อเข้าชม]
Nick Szabo เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิชาการด้านกฎหมาย นักวิทยาการการเข้ารหัส และถูกมองว่าเป็น Satoshi Nakamoto ผู้สร้าง Bitcoin ไม่ปรากฎหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างชัดเจนในเรื่องนี้ และหลักฐานอื่นๆที่สามารถเชื่อมโยงอย่างชัดเจนถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Nick Szabo กับ Satoshi Nakamoto มีทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก แต่คุณ Nick Szabo ก็ได้ออกมาปฏิเสธอย่างชัดเจนในปี 2014 ด้วยการส่งอีเมล์ถึง Dominic Frisby ซึ่งกล่าวว่า “I’m afraid you got it wrong doxing me as Satoshi, but I’m used to it.”
Nick Szabo ก็อยู่ในชุมชน cypherpunk เช่นกัน จากการสืบค้นข้อมูลของผม
Nick Szabo ปรากฎตัวครั้งแรกในฟอรัมบนชุมชน cypherpunk ช่วงปี ค.ศ. 1993 การปรากฎตัวของเขามาพร้อมกับหัวข้อ “Keys on public machines” ด้วยอีเมล์ szabo@techbook.com [Sun Apr 4 15:20:37 PDT 1993]
สิ่งที่ทุกคนมองว่า Bit gold อาจเป็นการ pre-build ของ Bitcoin เนื่องจากแนวคิด หลักการคล้ายคลึงกับ Bitcoin เป็นอย่างมาก และผู้คนจำนวนมากก็ยกย่อง
Nick Szaboให้เป็นบุคคลที่มีความน่าจะเป็น Satoshi มากในอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้
แม้ไม่ปรากฎหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แต่มีทฤษฎีสมคบคิดจากคำพูดของ Nick และการแสดงออกทางการเมืองที่มีความคล้ายคลึงกับ Satoshi อีกทั้งความรู้ และความสามารถ หลายๆคนก็คิดว่าเขามีความคล้ายคลึงอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตามในชุมชน Bitcoin ก็ยังมีแคนดิเดตคนอื่นๆอีก ผมอาจจะมาเขียนบทความเจาะลึกเพิ่มเติมในอนาคต
แรงกระเพื่อมนำไปสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่เรียกว่า Bitcoin
เมื่อผู้ใช้นามแฝงชื่อ Satoshi Nakamoto ได้เผยแพร่เอกสารที่ชื่อว่า “Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System” บนชุมชนของ cypherpunk ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2008 โดยส่งจาก satoshi@vistomail.com เข้าสู่ระบบ remailer ชุมชน cypherpunk [Remailer เป็นระบบที่จะส่งต่ออีเมล์กระจายไปยัง node ต่างๆที่รันอยู่ เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง Single Point Of Failure]
> From: "Satoshi Nakamoto" <satoshi@vistomail.com>
> Date: October 31, 2008 2:10:00 PM GMT-04:00
> To: cryptography@metzdowd.com
> Subject: Bitcoin P2P e-cash paper
>
> I've been working on a new electronic cash system that's fully
> peer-to-peer, with no trusted third party.
>
> The paper is available at:
> http://www.bitcoin.org/bitcoin.pdf
>
> The main properties:
> Double-spending is prevented with a peer-to-peer network.
> No mint or other trusted parties.
> Participants can be anonymous.
> New coins are made from Hashcash style proof-of-work.
> The proof-of-work for new coin generation also powers the
> network to prevent double-spending.
>
> Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System
>
> Abstract. A purely peer-to-peer version of electronic cash would
> allow online payments to be sent directly from one party to another
> without the burdens of going through a financial institution.
> Digital signatures provide part of the solution, but the main
> benefits are lost if a trusted party is still required to prevent
> double-spending. We propose a solution to the double-spending
> problem using a peer-to-peer network. The network timestamps
> transactions by hashing them into an ongoing chain of hash-based
> proof-of-work, forming a record that cannot be changed without
> redoing the proof-of-work. The longest chain not only serves as
> proof of the sequence of events witnessed, but proof that it came
> from the largest pool of CPU power. As long as honest nodes control
> the most CPU power on the network, they can generate the longest
> chain and outpace any attackers. The network itself requires
> minimal structure. Messages are broadcasted on a best effort basis,
> and nodes can leave and rejoin the network at will, accepting the
> longest proof-of-work chain as proof of what happened while they
> were gone.
>
> Full paper at:
> http://www.bitcoin.org/bitcoin.pdf
>
> Satoshi Nakamoto
>
> ---------------------------------------------------------------------
> The Cryptography Mailing List
> Unsubscribe by sending "unsubscribe cryptography" to majordomo@metzdowd.com
พร้อมกับการแนบเอกสาร whitepaper เป็นครั้งแรก และอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของ Bitcoin ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่สวยงามทางด้านการออกแบบเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก หลังจากการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวเข้าสู่ชุมชน cypherpunk ก็มีการพูดถึงเรื่อง bitcoin เป็นครั้งแรกในชุมชน และมีเสียงฮือฮาไม่น้อยเลยเกี่ยวกับ Bitcoin
เริ่มจาก Patrick Chkoreff ที่กล่าวชมเอกสารดังกล่าว
> On Nov 2, 2008, at 9:52 AM, Patrick Chkoreff wrote:
>
>> That is a great paper.
>
> Sh**t. Now I have to read the damn thing.
และตามด้วย R.A. Hettinga ก็ได้แสดงความคิดเห็นเช่นกัน
:-)
Kewl. Nice to see that someone's blown the cobwebs off the stuff
that's out there, and done something interesting.
So, one of the things I like is that it's got a distributed mint,
kinda like Juels and Jakobsson's Breadpudding scheme for Shamir/
Rivest's Micromint.
Not to mention a variant of Adam Back's Hashcash proof of work stuff.
I've never been convinced by the Bayes-filter guys' incessant attacks
on proof of work schemes like Eric Johansson's Camram, myself, though
I've always been more interested in underwriting other things of value
besides mere machine horsepower. :-). Looks like this is long-awaited
step in the right direction.
It's even got a shout out to Wei Dai's Crypto++ .
It's like old home week around here.
Cheers,
RAH
มีการโต้ตอบกันไปมาผ่านชุมชน cypherpunk และ Satoshi ก็ได้ตอบกลับข้อความเกิดการพูดคุยกันในประเด็นต่างๆ ผมขอข้ามส่วนย่อยนี้ไป
และบุคคลสำคัญที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้คือคุณ Hal Finney เป็นนักพัฒนาซอฟท์แวร์ชาวอเมริกัน เขาได้พูดถึง Bitcoin ครั้งแรกในชุมชน cypherpunk ในวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ความคิดเห็นของ Hal Finney ยังกล่าวชมแนวคิดของ Bitcoin แต่เขาเองก็ยังตั้งคำถามว่าโครงการ Bitcoin นั้นมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับแนวคิดของ Nick Szabo ที่เสนอเกี่ยวกับเรื่อง Bit gold
ผมขอยกใจความบางส่วนที่สำคัญที่เขากล่าวถึง แต่ถ้าอยากอ่านฉบับสมบูรณ์สามารถอ่านได้ที่นี่
I also do think that there is potential value in a form of unforgeable
token whose production rate is predictable and can't be influenced
by corrupt parties. This would be more analogous to gold than to fiat
currencies. Nick Szabo wrote many years ago about what he called "bit
gold"[1] and this could be an implementation of that concept. There have
also been proposals for building light-weight anonymous payment
schemes on
top of heavy-weight non-anonymous systems, so Bitcoin could be leveraged
to allow for anonymity even beyond the mechanisms discussed in the
paper.
และคนในชุมชนเองอีกหลายๆคนก็ตั้งคำถาม รวมทั้งให้แนวคิด หรือหยิบยกประเด็นต่างๆขึ้นมาพูดคุยกัน จนกระทั่งจุดเปลี่ยนสำคัญได้มาถึง….
วันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2009 Satoshi Nakamoto ได้เริ่มต้น genesis block ขึ้นเป็นครั้งแรก นับว่าเป็น block แรกของ bitcoin ที่ hash 000000000019d6689c085ae165831e934ff763ae46a2a6c172b3f1b60a8ce26f
00000000 01 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 ................
00000010 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 ................
00000020 00 00 00 00 3B A3 ED FD 7A 7B 12 B2 7A C7 2C 3E ....;£íýz{.²zÇ,>
00000030 67 76 8F 61 7F C8 1B C3 88 8A 51 32 3A 9F B8 AA gv.a.È.ÈŠQ2:Ÿ¸ª
00000040 4B 1E 5E 4A 29 AB 5F 49 FF FF 00 1D 1D AC 2B 7C K.^J)«_Iÿÿ...¬+|
00000050 01 01 00 00 00 01 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 ................
00000060 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 00 ................
00000070 00 00 00 00 00 00 FF FF FF FF 4D 04 FF FF 00 1D ......ÿÿÿÿM.ÿÿ..
00000080 01 04 45 54 68 65 20 54 69 6D 65 73 20 30 33 2F ..EThe Times 03/
00000090 4A 61 6E 2F 32 30 30 39 20 43 68 61 6E 63 65 6C Jan/2009 Chancel
000000A0 6C 6F 72 20 6F 6E 20 62 72 69 6E 6B 20 6F 66 20 lor on brink of
000000B0 73 65 63 6F 6E 64 20 62 61 69 6C 6F 75 74 20 66 second bailout f
000000C0 6F 72 20 62 61 6E 6B 73 FF FF FF FF 01 00 F2 05 or banksÿÿÿÿ..ò.
000000D0 2A 01 00 00 00 43 41 04 67 8A FD B0 FE 55 48 27 *....CA.gŠý°þUH'
000000E0 19 67 F1 A6 71 30 B7 10 5C D6 A8 28 E0 39 09 A6 .gñ¦q0·.\Ö¨(à9.¦
000000F0 79 62 E0 EA 1F 61 DE B6 49 F6 BC 3F 4C EF 38 C4 ybàê.aÞ¶Iö¼?Lï8Ä
00000100 F3 55 04 E5 1E C1 12 DE 5C 38 4D F7 BA 0B 8D 57 óU.å.Á.Þ\8M÷º..W
00000110 8A 4C 70 2B 6B F1 1D 5F AC 00 00 00 00 ŠLp+kñ._¬....
วันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2009 03:27:40 +0800 Satoshi Nakamoto ก็ได้เผยแพร่ข้อความลงใน cypherpunk ในหัวข้อ “Bitcoin v0.1 released” และได้แนบลิ้งค์ไฟล์ของชุดซอฟท์แวร์ที่อัพโหลดไปยัง sourceforge.net
Announcing the first release of Bitcoin, a new electronic cash
system that uses a peer-to-peer network to prevent double-spending.
It's completely decentralized with no server or central authority.
See bitcoin.org for screenshots.
Download link:
http://downloads.sourceforge.net/bitcoin/bitcoin-0.1.0.rar
Windows only for now. Open source C++ code is included.
- Unpack the files into a directory
- Run BITCOIN.EXE
- It automatically connects to other nodes
และ Bitcoin ก็เริ่มเป็นที่รู้จัก และมีผู้ให้ความสนใจ รวมทั้งการร่วมพัฒนา ส่งผลให้ Bitcoin เติบโตและมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน
Reference
BLIND SIGNATURES FOR UNTRACEABLE PAYMENTS — by David Chaum
How to time-stamp a digital document — by Stuart Haber & W. Scott Stornetta published in 1991
New Directions in Cryptography — by Whitfield Diffie & Martin Hellman published in 1976
The cypherpunks-legacy Archives
Pricing via Processing or Combatting Junk Mail — by Cynthia Dwork & Moni Naor published in 1992
PROOFS OF WORK AND BREAD PUDDING PROTOCOLS — by Markus Jakobsson
Hashcash — A Denial of Service Counter-Measure — by Adam Back published in 2002
b-money, an anonymous, distributed electronic cash system — by Wei Dai
http://unenumerated.blogspot.com/2005/12/bit-gold.html
Bitcoin: A Peer-to-Peer Electronic Cash System — by Satoshi Nakamoto
Icon under CC 3.0 license:
— Language by Chanut is Industries from Noun Project (CC BY 3.0)
— Blockchain by — Artist from Noun Project (CC BY 3.0)
— encryption by Gregor Cresnar from Noun Project (CC BY 3.0)